/home/itedonl1/domains/itedonline.com/public_html/itedlib
Linux ns111.hostinglotus.net 4.18.0-513.11.1.el8_9.x86_64 #1 SMP Wed Jan 17 02:00:40 EST 2024 x86_64
งานวิจัยทั้งหมด
แนวทางการขยายผลรูปแบบการพัฒนานักศึกษาผลการเรียนอ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลทางการเรียน
- Category: การพัฒนาการเรียนการสอนอื่น ๆ
- Author: นาตยา แก้วใส
- Year: 2564
Hits: 569
Review
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินผลแนวทางการขยายผลรูปแบบการพัฒนานักศึกษาผลการเรียนอ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลทางการเรียน โดยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการขยายผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการปรับปรุง และพัฒนารูปแบบการพัฒนา
นักศึกษาผลการเรียนอ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลทางการเรียน แนวทางการขยายผลรูปแบบแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) รับสมัครผู้เข้าอบรมตามคุณสมบัติที่กำหนด 2) ให้ความรู้โดยการฝึกอบรมออนไลน์ 3) ติดตามตรวจปรับความสำเร็จ และ 4) ประเมินผล จากนั้นทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ำาพระนครเหนือ คณะบริหารธุรกิจ และอุตสาหกรรมบริการ ภาควิชาบริหารธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว และโรงแรม ผู้ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาคการศึกษา 1/2564 จำนวน 43 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางการขยายผลรูปแบบ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) จำนวน 25 ข้อ และเครื่องมือประเมินผลการดำเนินการตามแนวทางการขยายผลรูปแบบการพัฒนานักศึกษาผลการเรียนอ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลทางการเรียน คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อกระบวนการตามแนวทางการขยายผลรูปแบบและ การฝึกอบรมออนไลน์ หลักสูตรการสร้างเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบ รายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ รวมจำนวน 22 ข้อ และตอนท้ายเป็นข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความคิดเห็นสอดคล้องไปในทางเดียวกันว่าสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้งานได้จริงจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) นักศึกษาผู้ผ่านการฝึกอบรมเห็นด้วยกับแนวทางการขยายผลรูปแบบจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และ 3) นักศึกษาผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อแนวทางการขยายผลรูปแบบในภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้